Catching Fire

วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559

มาตรฐานการแพร่ภาพวีดีโอ

มาตรฐานการแพร่ภาพวีดีโอ

–                   National Television System Committee (NTSC)
NTSC เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการตั้งมาตรฐานที่เกี่ยวกับโทรศัพท์และวีดีโอในสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น โดยข้อมูลนี้เป็นการเข้ารหัสข้อมูลแบบสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ กำหนดให้สร้างภาพด้วยเส้นในแนวนอน 525 เส้นต่อเฟรม อัตรา  30 เฟรม ต่อวินาที  16  ล้านสีและ Refresh Rate  60 Halt-Frame ต่อวินาที (Interlaced) ส่วนคอมพิวเตอร์ใช้ Progressive Scan (เฟรมต่อเฟรม)
–                   Phase Alternate Line (PAL)
PAL เป็นมาตรฐานของโทรทัศน์และวีดีโอ ที่นิยมใช้กันในแถบประเทศยุโรป อังกฤษ ออสเตรเลีย อัฟริกาใต้ รวมทั้งประเทศไทย เป็นการสร้างภาพจากเส้นแนวนอน 625 เส้นต่อเฟรม ด้วยอัตรา 25 เฟรมต่อวินาที และแสดงภาพด้วยวิธี Interlacing (Refresh Rate  50 Halt-Frame ต่อวินาที)
–                   Sequential Color And Memory (SECAM)
SECAM เป็นมาตรฐานของการแพร่สัญญาณโทรทัศน์และวีดีโอที่ใช้กันในประเทศฝรั่งเศส ยุโรปตะวันออก  รัสเซีย และตะวันออกกลาง จะทำการแพร่สัญญาณแบบอนาลอก ส่วนการสร้างภาพจะเป็น  819 เส้น ด้วยอัตราการรีเฟรช 25 เฟรมต่อวินาที
–                   High Definition Television (HDTV)
HDTV เป็นเทคโนโลยีของการแพร่ภาพโทรทัศน์ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อแสดงภาพที่มีความละเอียดสูง กำหนดให้มีความละเอียดของจอภาพเป็น 1280 x 720 พิกเซล ตามแบบ Progressive Scan
การผสมผสานระหว่างคอมพิวเตอร์และโทรทัศน์
วีดีโอบนโทรทัศน์เป็นแบบ Analog Technology สำหรับแพร่สัญญาณภาพไปยังครัวเรือน  คอมพิวเตอร์วีดีโอ อยู่บนพื้นฐาน Digital Technology
–                   ระบบการซ้อนภาพวิดีโอ (Video Overlay System)
ได้มีการนำวีดีโอและคอมพิวเตอร์มาใช้ร่วมกันเรียกว่า  “Computer-Based Training(CBT)” จะใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมการทำงานของเครื่องเล่นวิดีโอด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่ส่งสัญญาณไปบังคับการทำงานของเครื่องเล่นวีดีโอ แล้วแสดงผลบนจอภาพโทรทัศน์
ความแตกต่างระหว่างคอมพิวเตอร์วีดีโอและโทรทัศน์วีดีโอ
จอภาพคอมพิวเตอร์และจอโทรทัศน์ ใช้อัตราส่วน 4:3 แต่การสร้างภาพด้วยเส้นในแนวนอนจะใช้  480 เส้น ไม่เท่ากับจอภาพโทรทัศน์และอัตราการรีเฟรชเป็น 66.67 Hz เมื่อส่งสัญญาณภาพที่มีขนาดใหญ่กว่าจอภาพโทรทัศน์ ขอบของภาพจะขยายตามขอบโค้งของจอโทรทัศน์ (Overscan) ตรงข้ามกับขนาดจอภาพคอมพิวเตอร์ จะแสดงภาพที่มีขนาดเล็กกว่าจอโทรทัศน์ (Underscan) ดังนั้นเมื่อแปลงภาพจากจอคอมพิวเตอร์ไปแสดงบนจอโทรทัศน์ขนาดของภาพจะไม่เต็มจอโทรทัศน์
การผลิตวีดีโอ มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
–                   การวางแผน เป็นการกำหนดเรื่องราว ความยาวของเรื่องการเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ ให้พร้อม เป็นต้น
–                   การถ่ายทำ เป็นการบันทึกภาพเคลื่อนไหว ภาพนิ่งหรือเหตุการณ์เก็บไว้
–                   แคปเชอร์ (Capture) เป็นการถ่ายโอนข้อมูลทั้งภาพและเสียงที่ได้จากเทปวีดีโอ (VHS) มาบันทึกลงในฮาร์ดดิสก์ของเครื่องคอมพิวเตอร์
–                   การตัดต่อ เป็นการนำไฟล์หลายๆ ไฟล์มาต่อเรียงกัน โดยการเลือกภาพและเสียงที่ต้องการ การตัดต่อวีดีโอด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์จะได้งานที่มีคุณภาพดี
–                   การทำสื่อประสม สื่อที่นิยมกันคือ เทปวีดีโอ  แผ่นวีซีดี แผ่นดีวีดี เป็นต้น
การบีบอัดวีดีโอ  ยกตัวอย่างบางส่วน ดังนี้
–                   เจเพ็ก  (JPEG) เป็นมาตรฐานการบีบอัดข้อมูลภาพสี ที่จะย่อภาพสีโดยให้คงรายละเอียดเดิมไว้ให้มากที่สุด
–                   Motion – JPEG เป็นมาตรฐานการบีบอัดข้อมูลภาพ โดยไม่ต้องการความละเอียดของภาพมากนัก
–                   CODEC  นิยมใช้บีบอัดแบบ MPEG ,Indeo และ Cinepak
–                   MPEG (Moving Picture Express Group) เป็นมาตรฐานการบีบอัดสัญญาณภาพและเสียง โดยใช้ระบบ  DCT
–                   Cinepak  เป็นเทคโนโลยีการบีบอัดและการคลายข้อมูล ที่สามารถส่งข้อมูลวีดีโอ ได้ดีแต่ต้องใช้เวลานาน
ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการผลิตวีดีโอ 
–                   Macromedia Flash โปรแกรมสำหรับสร้างงานแอนิเมชั่น มัลติมีเดีย งานอินเตอร์เอคทีฟ และรองรับงานออนไลน์ต่างๆ
–                   Ulead Video Studio เป็นโปรแกรมตัดตัอต่อวีดีโอ Capture ภาพที่นำสัญญาณผ่านเข้ามาสามารถตัดต่อวีดีโอให้อยู่ในฟอร์แมต MPEG I , MPEG II , DV และ VCD ได้
–                   Adobe Photoshop โปรแกรมสำหรับตกแต่งรูปภาพ
–                   Windows Movie Maker โปรแกรมสำหรับใช้ในการตัดต่อภาพ มัลติมีเดียสตรีมมิ่งทั้งภาพและเสียงที่ได้จากการตัดต่อวีดีโอ และสามารถนำเข้าไฟล์ไม่ว่าจะเป็น  *.avi , *.afs ,  *.MPEG , *.MPG , *.MPA เป็นต้น
–                   VirtualDub  เป็นโปรแกรมที่ช่วยใส่ Feeling ต่างๆ ให้แก่ภาพ ช่วยในการลดเม็ดสีที่คล้ายเม็ดหิมะที่เกิดจากการตัดต่อภาพจาก TV หรือ TV จูนเนอร์ และสามารถทำการบีบอัดข้อมูลได้
–                   TMPGEnc หรือ TMPG II  เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการดัดแปลงไฟล์ VDO แบบ *.avi  ให้เป็น *.MPEG ได้ สามารถใช้โปรแกรม TMPGEnc  ร่วมกับ VirtualDub ได้
–                   CyberLink VideoLive Mail เป็นโปรแกรมที่สามารถปรับแต่งภาพ และสนับสนุนการรับชมรายการโทรทัศน์  วีดีโอและบันทึกรายการโทรทัศน์หรือวีดีโอที่รับชมได้
–                   Flash  เป็นโปรแกรมสำหรับพัฒนางานรูปแบบต่างๆ เช่น งานวีดีโอ งานมัลติมีเดีย งานเว็บแอพพลิเคชัน ระบบ e-Learning และระบบแอพพลิเคชันขนาดใหญ่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น